วันศุกร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2551

แผนการจัดการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง

แผนการจัดการเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง
เรื่องหลัก/หัวเรื่อง Food and Drink ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 What Is There for Lunch?
แผนการเรียนรู้เรื่อง Breakfast, Lunch and Dinner เวลา 2 ชั่วโมง

1. สาระสำคัญ
การฟังและเรียกชื่ออาหารมื้อต่าง ๆ ในแต่ละวัน เป็นการใช้ภาษาในชีวิตประจำวัน ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องเรียนรู้ และนำมาใช้ในสังคมได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนการอยู่อย่างพอเพียงในสังคมปัจจุบัน
2. จุดประสงค์การเรียนรู้
จุดประสงค์ปลายทาง
2.1 ฟังรายชื่ออาหารมื้อต่าง ๆ ของวันเข้าใจ (มาตรฐาน ต 1.1.1, ต 1.1.2, ต 1.2.3)
จุดประสงค์นำทาง
2.1.1 บอกคำศัพท์เกี่ยวกับอาหารมื้อต่าง ๆ ได้
2.1.2 ออกเสียงชื่ออาหารมื้อต่าง ๆ ได้
2.1.3 ตอบคำถามเกี่ยวกับสิ่งที่ฟังได้ และรู้จักการประมาณตนได้
จุดประสงค์ปลายทาง
2.2 พูดสนทนาเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มได้ และใช้เงินอย่างคุ้มค่า (มาตรฐาน ต 1.1.3, ต 1.3.1)
จุดประสงค์นำทาง
2.2.1 พูดเกี่ยวกับอาหารที่ชอบได้ และใช้ทรัพยากรสิ่งที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์
2.2.2 เข้าใจและใช้คำศัพท์เกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มได้ถูกต้อง
3. เนื้อหาสาระ
3.1 กิจกรรม New Language, Comprehension และ Practice ในหนังสือเรียน หน้า 32-33
3.2 หน้าที่ภาษา
- Talking about food and drink
3.3 โครงสร้างประโยค/ไวยากรณ์
- Count/Non-count nouns
3.4 คำศัพท์และสำนวนภาษา
- toast (n.): sliced bread made brown and crisp by heating under a grill, in a toaster, etc. (ขนมปังปิ้ง)
- cereal (n.): any of various types of grass producing edible grains, e.g. wheat, rye, oats, barley (ธัญพืช)
- pasta (n.): an Italian food made from flour, eggs and water, formed into various shapes, e.g. macaroni, spaghetti, ravioli
(อาหารประเภทแป้งของอิตาลี)
- shrimp (n.): small marine shellfish that is used for food, becoming pink when boiled (กุ้ง)
- cheesecake (n.): type of tart made with cream cheese, eggs, sugar, etc. on a base of pastry or crushed biscuits (ขนมเค้กเนย)
- dessert (n.): any sweet dish, (e.g. pie, tart, ice-cream) eaten at the end of a meal (ของหวาน)
3. 5 ข้อมูลด้านวัฒนธรรม
- อาหารเช้าของคนทั่วโลกนั้นมีความแตกต่างกัน เช่น อาหารเช้าของเม็กซิโก คือ ชีลาห์คีเลส์ (chilaquiles) ซึ่งทำจากแผ่นแป้งเม็กซิกัน (tortilla) ทอดแล้วใส่ซอสพริก ครีม ชีส และหัวหอม นอกจากนี้ อาหารเช้าในบางประเทศแถบยุโรปก็จะเป็นเพียงกาแฟและขนมปังสอดไส้เท่านั้น ส่วนอาหารเช้าของชาวอเมริกันส่วนใหญ่ก็จะเป็นไข่ดาว เบคอน และขนมปังปิ้ง
4. กิจกรรมการจัดการเรียนรู้
ขั้นที่ 1 - นำเข้าสู่บทเรียน (Warm-up)
- ครูเขียนคำศัพท์ breakfast, lunch และ dinner บนกระดานดำ แล้วครูถามนักเรียน ดังนี้
T: When do you usually have breakfast?
Ss: In the morning.
T: When do you usually have lunch?
Ss: At noon.
T: When do you usually have dinner?
Ss: In the evening.
- ครูซักถามนักเรียนเกี่ยวกับอาหารที่นักเรียนรับประทานในแต่ละมื้อ เช่น
T: What do you like to eat for breakfast?
S1: Eggs, bread, .(Answer will vary.)
T: What do you like to eat for lunch?
S2: Noodle, fried rice, .(Answer will vary.)
T: What do you like to eat for dinner?
S3: Salad, rice and fish, . (Answer will vary.)
- ครูซักถามนักเรียนเกี่ยวกับอาหารที่นักเรียนชอบ เช่น
T: What is your favorite food?
S1: My favorite food is .
ขั้นที่ 2 - ให้นักเรียนดูภาพในกิจกรรม New Language ในหนังสือเรียน หน้า 32 แล้วครูซักถามความเห็นของนักเรียนเกี่ยวกับภาพเหล่านั้น เช่น
- What are the food for breakfast?
- What are the food for lunch and dinner?
- ครูเปิดซีดีบันทึกเสียงทีละภาพ แล้วให้นักเรียนออกเสียงตาม จนครบทุกภาพ
ขั้นที่ 3 - ให้นักเรียนจับคู่ถาม-ตอบเกี่ยวกับอาหารมื้อต่าง ๆ ที่นักเรียนรับประทานเป็นประจำ เช่น
S1: What do you usually eat for breakfast?
S2: I usually eat .
S1: What do you usually eat for lunch?
S2: I usually eat .
S1: What do you usually eat for dinner?
S2: I usually eat .
- สุ่มนักเรียน 4-5 คู่ออกไปพูดหน้าชั้นเรียน
ขั้นที่ 4 - นักเรียนดูภาพในกิจกรรม New Language ในหนังสือเรียน หน้า 33 แล้วบอกชื่ออาหารหวานและเครื่องดื่ม
- ครูเปิดซีดีบันทึกเสียงให้นักเรียนออกเสียงตาม แล้วให้นักเรียนจับคู่ถาม-ตอบ เช่น
S1: What is your favorite drink?
S2: My favorite drink is .
S1: What is your favorite dessert?
S2: My favorite dessert is __ .
ขั้นที่ 5 - ให้นักเรียนตอบคำถาม true or false ในกิจกรรม Comprehension ในหนังสือเรียน หน้า 33 แล้วตรวจคำตอบโดยให้นักเรียนอ่านประโยคคำถาม แล้วบอกว่า true หรือ false และให้นักเรียนดูรูปภาพอีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งแก้ประโยคที่ตอบ false (ดูเฉลยท้ายเล่ม)
ขั้นที่ 6 - ครูเปิดซีดีบันทึกเสียงในกิจกรรม Practice ในหนังสือเรียน หน้า 33 ให้นักเรียนออกเสียงตาม
- ให้นักเรียนจับคู่ถาม-ตอบโดยเปลี่ยนกิจกรรมในคำถามและคำตอบ เช่น
S1: What do you like for breakfast?
S2: I like eggs and milk.
- สุ่มนักเรียน 4-5 คู่พูดบทสนทนาหน้าชั้นเรียน
ขั้นที่ 7 - ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัด ข้อ A-B ใน Workbook หน้า 21 (ดูเฉลยท้ายเล่ม)
ขั้นที่ 8 - ให้นักเรียนเปรียบเทียบอาหาร และราคา กับอาหารไทยเพื่อใช้ในการเลือกดำเนินชีวิตให้เหมาะสม และถูกต้อง เพื่อนำหลักเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต
5. สื่อการเรียนรู้
5.1 หนังสือเรียน หน้า 32-33
5.2 Workbook หน้า 21
5.3 ซีดีบันทึกเสียง
5.4 เครื่องเล่นซีดี
แหล่งการเรียนรู้เพิ่มเติม :
- http://th.wikipedia.org/wiki/อาหารเช้า

6. การวัดผลและประเมินผล
6.1 ประเมินผลจุดประสงค์ปลายทาง 2.1 จากการทำกิจกรรม New Language และ Comprehension ในหนังสือเรียน หน้า 32-33
6.2 ประเมินผลจุดประสงค์ปลายทาง 2.2 จากการทำกิจกรรม Practice ในหนังสือเรียน หน้า 33
เครื่องมือการประเมิน :
- เกณฑ์การประเมินการฟัง
- แบบประเมินการสนทนากิจกรรมคู่
7. กิจกรรมเสริมทักษะ/ประสบการณ์ทางภาษา
7.1 ครูให้นักเรียนเขียนเมนูอาหารประจำวันใน 1 สัปดาห์ แล้วสุ่มนักเรียน 7 คนออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียนคนละ 1 วัน
8. ผลงาน/ชิ้นงานของนักเรียน
8.1 การพูดสนทนาถาม-ตอบในกิจกรรม Practice ในหนังสือเรียน หน้า 33
8.2 การทำกิจกรรม Comprehension ในหนังสือเรียนหน้า 33
8.3 แบบฝึกหัด ข้อ A-B ใน Workbook หน้า 21
9. ความสัมพันธ์กับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่น
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
10. บันทึกผลหลังการสอน
10.1 ผลการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนรู้
10.2 ปัญหาอุปสรรคในการปฏิบัติกิจกรรม
10.3 ข้อเสนอแนะ/แนวทางการปรับปรุงแก้ไขการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

ไม่มีความคิดเห็น: